วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1. เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่าอะไร
A.Laser printer
B.Dot-matrix
C.Inkjet printer
D.Scanner

2. ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ของอักษรภาษาอังกฤษ ต้องกดปุ่มใดบนแป้นพิมพ์
A.Caps Lock
B.Home
C.Num Lock
D.Scroll Lock

3. อุปกรณ์ใดใช้เลื่อนลูกศรบนจอภาพในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
A.Mouse
B.Scanner
C.Modem
D.Keyboard

4. Caps lock key หมายถึงแป้นชนิดใด
A.แป้นตรึงอักษรตัวใหญ่
B.แป้นตรึงตัวเลข
C.แป้นพิมพ์เปิดเครื่อง
D.แป้นพิมพ์ใส่หมวก

5. Num lock key หมายถึงแป้นชนิดใด
A.แป้นตรึงอักษรตัวใหญ่
B.แป้นตรึงตัวเลข
C.แป้นพิมพ์เปิดเครื่อง
D.แป้นพิมพ์ใส่หมวก

6. เครื่องหมาย \ เรียกว่าอะไร
A.Slash
B.Semicolon
C.Colon
D.Back Slash

7. เครื่องหมาย @ เรียกว่าอะไร
A.At Sign
B.At Sing
C.A Style
D.At Site

8. อุปกรณ์ใดต่อไปนี้ถือเป็นหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output unit) ของคอมพิวเตอร์
A.Hard disk
B.Monitor
C.Scanner
D.Memory

9. อุปกรณ์ใดต่อไปนี้ถือเป็นหน่วยรับ (Input unit) ของคอมพิวเตอร์
A.Hard disk
B.Mouse
C.Motorcycle
D.Memory

10. อะไรที่ไม่เป็น ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทางคอมพิวเตอร์
A.Printer
B.Microsoft Windows
C.Monitor
D.Mouse
เฉลย
1.C 2.A 3.A 4.A 5.B 6.D 7.A 8.B 9.B 10.B

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์ดแวร์[Hardware]


 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic device) ที่มนุษย์ ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูล (Data) ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่งที่อยู่ใน หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เอง เพื่อทำการ คำนวณและแสดงผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล โดยที่ผลลัพธ์เหล่านี้จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเรียบ เรียงแล้ว จะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า "สารสนเทศ (Information)"
คอมพิวเตอร์ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้ได้สารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือ ทำงานได้รวดเร็ว สามารถคิดคำนวณตัวเลขจำนวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำ การคิดคำนวณและจัดการข้อมูลจึงทำได้มาก และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คอมพิวเตอร์ยังจัดเก็บข้อมูลไว้สำหรับประมวลผลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยกได้เร็ว สามารถดำเนินการต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่วางไว้คอมพิวเตอร์ทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ตามหลักการที่นอยแมนเสนอใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำสำหรับการเก็บโปรแกรมและข้อมูล การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ก่อน ล่วงหน้าแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียกรวมว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย
ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการ ประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์ อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
คีย์บอร์ด (Keyboard)ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอ ภาพ
ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จำแนกตามหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
          1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
          2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
          3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับ ข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อ เตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
          4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
          5. อุปกรณ์ต่อพ่วง อื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับ คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่ง ขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
          6.แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นแผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
          หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลาก หลายอุปกรณ์ ได้แก่
1. คีย์บอร์ด (Keyboard) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็น รหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่อง พิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)
2 เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยัง ตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ
3. OCR (Optical Character Reader) อุปกรณ์นำเข้า ข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวาง บนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำ วัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)
4. OMR (Optical Mark Reader) อุปกรณ์นำเข้าที่ทำ งานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
5. เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่อง หมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของ ภาพกราฟิกต่างๆ
6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย
7. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ
8. จอยสติก (Joy Sticks) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย
9. จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน
10. เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่ง ที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอก ข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วย ในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูล ที่มีจำนวนมาก
11. แผ่นสัมผัส (Touch Pads) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
12. กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ ได้
13. อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยจะทำการแปลง สัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์ 
 


หน่วยความจำ (Memory Unit)
เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้ รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียน เพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
- แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อ เลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ใน หน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
2. หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
- ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็น แผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น ี
- ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจาก แผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)  
3. รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive
4. ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูล ได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์
5. Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์
6. เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์
7. การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 
 


หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมาก ที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือ โปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับ เครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทาง คณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
2. หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่าย ในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon 
 

หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เป็นอุปกรณ์ส่งออก (Output device) ทำหน้าที่แสดง ผลลัพธ์เมื่อซีพียูทำการประมวลผล
1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และ จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะ ไปปรากฏอยู่บนกระดาษ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดอตเมตทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) และ พล็อตเตอร์ (Plotter)
3. ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยว กับเสียง (Sound card) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง
 
แผงวงจรหลัก (Mainboard)
      แผงวงจรหลัก หรือนิยมเรียกว่าแผงเมนบอร์ด คือแผงวงจร ที่ติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งอุปกร์คอมพิวเตอร ์และอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมต่อถึงกัน เป็นที่ติดตั้งซีพียู หน่วยความจำรอม หน่วยความจำแรม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ และพอร์ตเชื่อมต่อออกไปภายนอก แผงวงจรนี้เป็นแผงวงจรหลัก ที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยป้อนข้อมูล และหน่วยแสดงผล
 
อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
1. โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่าง ง่ายดาย ปัจจุบันโมเด็มมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์ เรียกว่า Internal Modem และ แบบภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า External Modem
2. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำ หน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั้น (Workstation) และเครื่องให้บริการข้อมูล (Server) ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ จำเป็นต้องติดตั้งแลนการ์ด